ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน (พ.ศ.2566 – 2570)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมอยู่ดีมีสุข
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และรักษ์สิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดี
เป้าหมายประสงค์
- เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้ได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ความรู้ ทักษะการประกอบอาชีพส่งเสริมสนับสนุนด้านสาธารณสุข สร้างสุขภาวะที่ดีของประชาชน การจัดการบริการสังคมสงเคราะห์แก่ เด็ก สตรี คนชรา ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และการบริการสาธารณะอย่างทั่วถึง
- เพื่อการพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนด้านการศึกษา ด้านการกีฬา และรักษาไว้ซึ่งศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการสืบทอดภูมิปัญญา และสร้างองค์ความรู้ให้ให้สังคม ชุมชนเข้มแข็ง มีสภาวะแวดล้อมที่ดี ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
- เพื่อการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจให้ประชาชนมีงานทำมีรายได้เพิ่มขึ้นสนับสนุนให้ประชาชนและเกษตรกรรวมกันดำเนินการในการผลิต และการตลาด เพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวที่มีให้มีประสิทธิภาพ และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ ที่มีความหลากหลายภายใต้การมีส่วนร่วมของประชนชนในพื้นที่
- เพื่อการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมการพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สร้างองค์ความรู้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- เพื่อการส่งเสริมให้ประชาชนมีความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ปัญหาอบายมุข การเสริมสร้างความสมานฉันท์ของชุมชนในท้องถิ่น ส่งเสริมและสนับสนุนการรักษาความสงบเรียบร้อย
- เพื่อการบริหารจัดการและมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ได้มาตรฐานและทั่วถึง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ในทุก ๆ ด้าน ให้มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่ได้มาตรฐานและเพียงพอ
- เพื่อการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการและการบริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นธรรม และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานท้องถิ่น
ตัวชี้วัด
- การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การส่งเสริมสนับสนุนด้านสาธารณสุข การสังคมสงเคราะห์แก่ เด็ก สตรี คนชรา ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และการบริการสาธารณะอย่างทั่วถึง
- การส่งเสริมและสนับสนุนด้านการศึกษา ด้านการกีฬา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีท้องถิ่น
- การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวภายใต้การมีส่วนร่วมของประชนชนในพื้นที่
- การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและการพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การส่งเสริมและสนับสนุนในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย และการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ปัญหาอบายมุข การเสริมสร้างความสมานฉันท์ของชุมชนในท้องถิ่น
- การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่ได้มาตรฐานและเพียงพอ
- การพัฒนากระบวนการบริหารจัดการและการบริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส
เป็นธรรม และการมีส่วนร่วมของประชาชน
ค่าเป้าหมาย
- ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี เข้าถึงการบริการด้านสาธารณสุข การสังคมสงเคราะห์ และการบริการสาธารณะอย่างทั่วถึง
- ชุมชนมีความเข้มแข็ง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้านการศึกษา ด้านการกีฬา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีท้องถิ่น
- ประชาชนมีการรวมกลุ่ม/สหกรณ์ชุมชน มีการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วมของประชนชนในพื้นที่
- ประชาชนมีการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการอยู่อาศัยแบบพึ่งพิงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ประชาชนมีส่วนร่วมในการรณรงค์และแก้ไขปัญหายาเสพติด ปัญหาอบายมุขและความสมานฉันท์ของชุมชน
- การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่ได้มาตรฐาน
- กระบวนการบริหารจัดการและการบริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส
เป็นธรรม และประชาชนมีส่วนร่วม
กลยุทธ์
ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม
- ส่งเสริมและสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาวะของประชาชนให้มีสุขภาพแข็งแรง และได้รับบริการทางสาธารณสุขอย่างทั่วถึง
- ส่งเสริมและสนับสนุนการสังคมสงเคราะห์คุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา ผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการ
- ส่งเสริมและพัฒนาทักษะอาชีพ และองค์ความรู้ให้แก่ประชาชน ให้สามารถดำรงชีพได้อย่างเหมาะสม
ด้านการส่งเสริมการสาธารณสุข
- สนับสนุนส่งเสริมการให้บริการสาธารณสุข การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อต่าง ๆ
- สนับสนุน ส่งเสริม การออกกำลังกาย การกีฬา เพื่อสร้างสุขภาพให้แข็งแรง
- สนับสนุน ส่งเสริม ให้มีตลาดซื้อขายสินค้าอุปโภค – บริโภค และการเกษตรให้ถูกสุขลักษณะ
ด้านการศึกษา การกีฬา การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการศึกษา โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงรวมทั้งการกีฬาและนันทนาการ
- ส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพย์สินทางปัญญา
- สร้างจิตสำนึกให้เด็ก เยาวชน และประชาชน มีความหวงแหนประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ด้านการการพัฒนาเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และรักษ์สิ่งแวดล้อม
- ส่งเสริมและสนับสนุนการฝึกอบรม การฝึกอาชีพ และสร้างอาชีพให้แก่ กลุ่มเกษตรกรและประชาชน
- 2. ส่งเสริมองค์ความรู้ให้เกิดแก่คนในชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชน และมุ่งเน้นให้เกิดการพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีศักยภาพและมีมาตรฐานควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่
ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคมและความสงบเรียบร้อย
- ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาประชาธิปไตย การสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาชุมชน ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพ
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีการสร้างชุมชนเข้มแข็ง การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และอบายมุข
- ส่งเสริมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
- ส่งเสริมและสนับสนุนการกิจกรรมกลุ่มอาสาสมัครประชาชนการดูแลการจราจรและการรักษาความสงบเรียบร้อย และการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
- ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซมเส้นทางคมนาคมในตำบลให้มีมาตรฐานและทั่วถึง
- ดำเนินการขอขยายเขตบริการไฟฟ้าให้มีใช้ทุกครัวเรือน และให้มีไฟฟ้าสาธารณะเพียงพอ
- ก่อสร้าง ปรับปรุง และพัฒนาแหล่งน้ำสาธารณะเพื่อการอุปโภค – บริโภค รวมถึงเพื่อการเกษตรให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่
- พัฒนาและปรับปรุงให้มีระบบสาธารณูปโภค– สาธารณูปการอย่างทั่วถึงต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่
ด้านการบริหารจัดการองค์กร
- กำกับให้การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน สร้างจิตสำนึกและเพิ่มสมรรถนะให้แก่บุคลากร โดยใช้นโยบายรัฐบาลวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล และปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดทำแผนพัฒนา ในการตรวจสอบการบริหารงบประมาณ ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงาน กิจกรรมโครงการขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เกิดความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน
- ส่งเสริมให้ทุกกองใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการบริการสาธารณะที่ดีแก่ประชาชน
- จัดหา/ปรับปรุงอุปกรณ์ สถานที่ และครุภัณฑ์ที่ให้บริการสาธารณะและพัฒนาระบบเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ
จุดยืนทางยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมอยู่ดีมีสุข
1.ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการบริการการสังคมสงเคราะห์ คุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา ผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการ
2.ส่งเสริมและสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาวะของประชาชนให้มีสุขภาพ แข็งแรง และได้รับบริการทางสาธารณสุขอย่างทั่วถึง
3.ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการการศึกษาและการกีฬาให้มีประสิทธิภาพ
4. ส่งเสริมและสนับสนุนสถาบันศาสนา และการธำรงรักษาไว้ซึ่งประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และรักษ์สิ่งแวดล้อม
1.พัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวให้มีศักยภาพ
2.ส่งเสริมและสนับสนุนการฝึกอบรม การฝึกอาชีพ และสร้างรายได้ การกระจายสินค้าทางการเกษตร กลุ่มเกษตรกรและประชาชน
3.รณรงค์ให้ประชาชนและกลุ่มเกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
1.เสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานท้องถิ่น
2.ส่งเสริมกระบวนการเลือกตั้ง การออกเสียงมติ และการแสดงความคิดเห็นตามระบอบประชาธิปไตย
3.ส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด และการแก้ไขปัญหาที่บั่นทอนความมั่นคงของชุมชนเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย
4. ส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยต่างๆ
ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซมเส้นทางคมนาคมในตำบลให้มีมาตรฐานและทั่วถึง
2.พัฒนาและปรับปรุงแหล่งน้ำสาธารณะ เพื่อใช้ในการอุปโภค-บริโภคและการเกษตร
3.พัฒนาและปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค – สาธารณูปการ ให้ทั่วถึงและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดี
- เสริมสร้างธรรมาภิบาลในองค์กร สร้างจิตสำนึกและเพิ่มสมรรถนะให้แก่บุคลากร โดยใช้นโยบายรัฐบาลวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล และปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการบริหารงบประมาณ ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานกิจกรรมโครงการขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นธรรม
- ส่งเสริมให้ทุกกองใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการบริการสาธารณะที่ดีแก่ประชาชน
- จัดหา/ปรับปรุงอุปกรณ์ สถานที่ และครุภัณฑ์ที่ให้บริการสาธารณะและพัฒนาระบบเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ